วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

อินเตอร์เน็ต เบื้องต้น

ความหมายอินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ทั่วโลกไว้เข้าด้วย กันเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสามารถสื่อสาร ระหว่างกันได้ อิน เทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่พัฒนามาจากอาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัย ขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency : ARPA ) ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกา อาร์พาเน็ตเป็นเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานวิจัยทางด้านทหาร ที่มีผลมาจากสงครามเย็นระหว่างกลุ่มประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์กับค่ายเสรี ประชาธิปไตย ซึ่งสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้นำในค่ายเสรีประชาธิปไตยที่ต้องพัฒนา เทคโนโลยีด้านการทหารให้ล้ำหน้ากว่าสหภาพโซเวียต


พัฒนาการของอินเตอร์เน็ต
เกิดขึ้น ค..ศ. 2512 (1969) กองทัพสหรัฐต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางการทหาร และความเป็นไปได้ในการถูกโจมตีทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร จึงมีแนวความคิดในการวิจัยระบบที่สามารถ เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกระทรวงกลาโหมอเมริกัน (DoD = Department of Defense) ได้ให้ทุนที่มีชื่อว่า DARPA(Defense Advanced Research Project Agency) ภายใต้การควบคุมของ Dr. J.C.R. Licklider ได้ทำการทดลองระบบเครือข่ายที่มีชื่อว่า DARPA Network และต่อมาได้กลายสภาพเป็น ARPANet (Advanced Research Projects Agency Network)และต่อได้มาพัฒนาเป็น INTERNET

อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรกโดยเริ่มที่มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (Prince of Songkla University) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย (โครงการ IDP) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์

การทำงานของอินเตอร์เน็ต
มีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่อ
อินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร

ชนิดของโปรโตคอล
- Tcp/IP :ใช้เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถติดต่อสื่อสารและรับส่งข้อมูลได้
- HTIP :ใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในรูปของ World Wide Web เชื่อมโยงข้อมูลที่อยู่ในรูปของ Hypertext
- File Transfer Protocol :ใช้สำหรับการถ่ายโอนไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั่น
- Pop3 :ใช้ในการรับ-ส่ง E-mail

URL
เป็นรูปแบบการระบุตำแหน่งหรือที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตโดย URL แบ่งได้เป็น 3 ส่วนย่อยๆ ดังนี้
- Protocol สำหรับระบุถึงโปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสารของเว็บไซต์
- Domain name ชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เก็บไฟล์
- File Locate ส่วนนี้สำหรับระบุตำแหน่งของไฟล์ที่อยู่ในเว็บไซต์

คำศัพท์เกี่ยวกับเว็บไซต์มูล
- เว็บไซต์ แหล่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและสื่อผสมต่าง ๆ ( รูปภาพ,เสียง,ข้อความ )
ของแต่ละบริษัทหน่วยงานหรือบุคคลแหล่งข้อมูลที่บรรจุอยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
- เว็บเพจ หน้าที่แสดงเอกสารเนื้อของเว็บไซต์ ของเอกสารแต่ละหน้า
- โฮมเพจ หน้าแรกของเว็บไซต์ หรือ ปกของหนังสือ

บริการโอนย้ายไฟล์
1. Web directory
2. Search Engine

การเชื่อมต่อเข้าสู้อินเตอร์เน็ต
- การเชื่อมต่อส่วนบุคคล
- การเชื่อมต่อแบบ Cooperate

ระบบฐานข้อมูล (Database Systems)


ความหมายของฐานข้อมูล

ฐานข้อมูล ( Database)  หมายถึงชุดของข้อมูลที่รวมเอาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันเป็นเรื่อง ราวเดียวกันรวมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นชุดข้อมูล เช่น ฐานข้อมูลนิสิต ฐานข้อมูลค้า และ ฐานข้อมูล วิชาเรียน เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้มาจากการบันทึกข้อมูลโดยผู้ใช้ หรือบางข้อมูลอาจจะได้มาจากการประมวลผลข้อมูลแล้วบันทึกข้อมูลกลับไปเก็บที่ตำแหน่งที่ต้องการ
 ระบบฐานข้อมูล ( Database System) ความหมายของระบบฐานข้อมูลก็คือ ที่รวมของ ฐานข้อมูลต่าง ๆ หรือที่รวมของข้อมูลทั้งหมด ซึ่งอาจจะได้จากการคำนวณ หรือประมวลผลต่าง ๆ  หรืออาจจจะได้จากการบันทึกข้อมูลโดยผู้ใช้ เช่น ระบบฐานข้อมูลงานทะเบียนนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ ก็จะรวมเอาฐานข้อมูลต่าง ๆ เช่น ฐานข้อมูลวิชาเรียน ฐานข้อมูลนิสิต ฐานข้อมูลอาจารยผู้สอน และ ฐานข้อมูลหลักสูตร เป็นต้น ซึ่งรวมกันเป็นระบบฐานข้อมูลของงานทะเบียนนิสิต หรือ ฐานข้อมูลห้างร้านต่าง ๆ ก็จะประกอบด้วย ฐานข้อมูลสินค้า ฐานข้อมูลลูกค้า ฐานข้อมูลระบบบัญชีฐานข้อมูลลูกหนี้ และฐานข้อมูลตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น ดังภาพประกอบดังต่อไปนี้
รูปแบบการสื่อสารข้อมูล



องค์ประกอบพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูล

ข้อมูล/ข่าวสาร (Message)
ผู้ส่งสาร (Sender/Source)
ผู้รับข้อมูล (Receiver/Destination)
ตัวกลางในการส่งข้อมูล (Transmission Medium)
โปรโตรคอล (Protocal)

การสื่อสารคมนาคม

โทรคมนาคม หมายถึง การสื่อสารข้อมูลระยะทางไกลในรูปแบบสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์
ปัจจุบันการถ่ายทอดสัญญาณส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบดิจิตอลโดยใช้คอมพิวเตอร์ในการส่งข้อมูลจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง

องค์ประกอบของระบบสื่อสารโทรคมนาคม

เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับประมวลผล
เครื่องเทอร์มินิลสำหรับการรับหรือแสดงข้อมูล
ช่องทางสื่อสาร
อุปกรณ์สื่อสาร
ซอฟต์แวร์สื่อสาร

เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับประมวลผล (เครื่องแม่ข่าย)

Web Server
Mail Server
Proxy Server
DNS Server
DHCP Server
Data Base Server
Applicatio Server
Map Server

ประเภทของสัญญาณ
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1.สัญญาณอันอนาล็อก (Analog signal)
2.สัญญาณดิจิทัล (Digital signal)

ตัวกลางหรือช่องทางการสื่อสาร

 ช่องสื่อสาร (Communnication channels) หมายถึง รูปแบบใด ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการถ่ายทอดสัญญาณข้อมูลจากอุปกรณ์ตัวหนึ่งในระบบเครือ ข่ายไปยังอุปกรณ์อีกตัวหนึ่ง

สื่อนำสัญญาณ ประเภทสาย

  UIP : ต่อสายได้ไม่เกิน 100 เมตร ใช้หัว RJ-45
  STP : มีฟรอยหุ้ม
  COAXIAL : เชื่อต่อได้ไกล , ป้องกันสัญญาณรบกวน
  FIBER OPTIC : มีอัตราค่าลดทอนสัญญาณต่ำ

สื่อนำสัญญาณ ประเภทไร้สาย

  MICROWAVE
  SATELLITE
  WI-FI
  INFRARED
  BRUTHOOD

ความเร็วในการถ่ายทอดข้อมูล

  ปริมาณข้อมูลที่ส่งผ่านช่องสื่อสารใดๆ มีหน่วยวัดเป็นบิตต่อวินาที
  ช่วงคลื่นสัญญาณที่รวมกันอยู่ในช่องสื่อสารหนึ่งช่อง เรียกว่าความกว้างของช่องสื่อสาร

 

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดที่ 1


ประเภทของแรม (RAM)
โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ Static RAM (SRAM) ดังนี้

  • Static RAM (SRAM) นิยมนำไปใช้เป็นหน่วยแครช (Cache) ภายในตัวซีพียู เพราะมีีความเร็วในการทำงานสูงกว่า DRAM มาก แต่ไม่สามารถทำให้มีขนาดความจุสูงๆได้ เนื่องจากกินกระแสไฟมากจนทำให้เกิดความร้อนสูง
  • Dynamic RAM(DRAM) นิยม นำไปใช้ทำเป็นหน่วยความจำหลักของระบบในรูปแบบของชิปไอซี (Integrated Circuit) บนแผงโมดุลของหน่วยความจำ RAM หลากหลายชนิด เช่น SDRAM,DDR SDRAM,DDR-II และ RDRAM เป็นต้น โดยออกแบบให้มีขนาดความจุสูงๆได้ กินไฟน้อย และไม่เกิดความร้อนสูง
 ชนิดของแรมหรือแรม DRAM (ในปัจจุบัน
DRAM ที่นำมาใช้ทำเป็ฯแผงหน่อยความจำหลักของระบบชนิดต่างๆในปัจจุบันดังนี้ 
SDRAM (Synchronous DRAM)
ตัวชืปจะใช้บรรจุภัณฑ์ (Package) แบบ TSOP (Thin Smail Outine Package) ติดตั้งอยู่บน แผงโมดูล แบบ DIMM (Dual Inline Memory Module) ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาน 2 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 168 ขา ใช้แรงดันไฟ 3.3 โวลด์ ความเร็วบัสมีให้เลือกใช้ทั้งรุ่น PC-66 (66 MHz), PC-100 (100 MHz), PC-133 (133 MHz) และ PC-150 (150MHz) ปัจจุบันหมดความเป็นที่นิยมไปแล้ว จะพบได้ก็แต่เพียงในคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆทั้งนั้น 

DDR SDRAM (Double Date Rate SDRAM)
ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ TSOP เช่นเดียวกับ SDRAM และมีขนาด ความยาวของแผงโมดูลเท่ากัน คือ 5.25 นิ้ว ติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ DIMM ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 184 ขาใช้แรงดันไฟ 2.5 โวลด์ รองรับความจุสูงสุดได้ 1 GB/แผง ความเร็วบัสในปัจจุบันมีใหเเลือกใช้ตั่งแต่ 133 MHz (DDR-266) ไปจนถึง 350 MHz (DDR-700) สำหรับ DRAM ชนิดนี้ปัจจุบันกำลังจะตกรุ่น
การจำแนกรุ่นของ DDR SDRAM นอกจากจะจำแนกออกตามความเร็วบัสที่ใช้งาน เช่น DDR-400 (400 MHz effective) ซึ่งคิดจาก 200 MHz (ความถี่สัญญาณนาฬิกา๗ x 2 (จำนวนครั้งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ละรอบของสัญญาณนาฬิกา) แล้ว ยังถูกจำแนกออกตามค่าอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล (Bandwidth) ที่มีหน่วยความจำเป็นเมกะไบต์ต่อวินาที (MB/s) ด้วยเช่น PC3200 ซึ่งคิดจาก 8 (ความกว้างของบัสขนาด 8 ไบต์ หรือ 64 บิต) x 200 MHz (ความถี่สัญญาณนาฬิกา) x 2 (จำนวนครั่งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ละรอบสัญญาณนาฬิกา)เท่ากับอัตตราความ เร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 3,200 MB/s โดยประมาณนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีรุ่นอื่นๆอีก เช่น PC2100 (DDR-266), PC2700(DDR-33), PC3600 (DDR-450), PC4000(DDR-500),PC4200(DDR-533), และ PC5600 (DDR-700) เป็นต้น 

ประเภทของรอม(Rom)
Manual ROM
ROM (READ-ONLY MEMORY)
          ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ใน ROM จะถูกโปรแกรม โดยผู้ผลิต (โปรแกรม มาจากโรงงาน) เราจะใช้ ROM ชนิดนี้ เมื่อข้อมูลนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และมีความต้องการใช้งาน เป็นจำนวนมาก ผู้ใช้ไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงข้อมูลภายใน ROM ได้
         โดย ROM จะมีการใช้ technology ที่แตกต่างกันตัวอย่างเช่น BIPOLAR, CMOS, NMOS, PMOS
 PROM (Programmable ROM)
PROM (PROGRAMMABLE READ-ONLY MEMORY)
        ข้อมูลที่ต้องการโปรแกรมจะถูกโปรแกรมโดยผู้ใช้เอง โดยป้อนพัลส์แรงดันสูง (HIGH VOLTAGE PULSED) ทำให้ METAL STRIPS หรือ POLYCRYSTALINE SILICON ที่อยู่ในตัว IC ขาดออกจากกัน ทำให้เกิดเป็นลอจิก “1” หรือ “0” ตามตำแหน่ง ที่กำหนดในหน่วยความจำนั้นๆ เมื่อ PROM ถูกโปรแกรมแล้ว ข้อมูลภายใน จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อีก หน่วยความจำชนิดนี้ จะใช้ในงานที่ใช้ความเร็วสูง ซึ่งความเร็วสูงกว่า หน่วยความจำ ที่โปรแกรมได้ชนิดอื่นๆ
EPROM (Erasable Programmable ROM)

EPROM (ERASABLE PROGRAMMABLE READ-ONLY MEMORY)
        ข้อมูลจะถูกโปรแกรม โดยผู้ใช้โดยการให้สัญญาณ ที่มีแรงดันสูง (HIGH VOLTAGE SIGNAL) ผ่านเข้าไปในตัว EPROM ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่ใช้ใน PROM แต่ข้อมูลที่อยู่ใน EPROM เปลี่ยนแปลงได้ โดยการลบข้อมูลเดิมที่อยู่ใน EPROM ออกก่อน แล้วค่อยโปรแกรมเข้าไปใหม่ การลบข้อมูลนี้ทำได้ด้วย การฉายแสง อุลตร้าไวโอเลตเข้าไปในตัว IC โดยผ่าน ทางกระจกใส ที่อยู่บนตัว IC เมื่อฉายแสง ครู่หนึ่ง (ประมาณ 5-10 นาที) ข้อมูลที่อยู่ภายใน ก็จะถูกลบทิ้ง ซึ่งช่วงเวลา ที่ฉายแสงนี้ สามารถดูได้จากข้อมูล ที่กำหนด (DATA SHEET) มากับตัว EPROM และ มีความเหมาะสม ที่จะใช้ เมื่องานของระบบ มีโอกาส ที่จะปรับปรุงแก้ไขข้อมูลใหม่
EAROM (Electrically Alterable ROM)
EAROM (ELECTRICALLY ALTERABLE READ-ONLY MEMORY)
          EAROM หรืออีกชื่อหนึ่งว่า EEPROM (ELECTRICAL ERASABLE EPROM) เนื่องจากมีการใช้ไฟฟ้าในการลบข้อมูลใน ROM เพื่อเขียนใหม่ ซึ่งใช้เวลาสั้นกว่าของ EPROM
         การลบขึ้นอยู่กับพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ดังนั้น EAROM (ELECTRICAL ALTERABLE ROM) จะอยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีแบบ NMOS ข้อมูลจะถูกโปรแกรมโดยผู้ใช้เหมือนใน EPROM แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ ข้อมูลของ EAROM สามารถลบได้โดยทางไฟฟ้าไม่ใช่โดยการฉายแสงแบบ EPROM